ในการส่งสัญญาณเสียง หรือสัญญาณข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนั้น พาหะ หรือตัวนำสัญญาณใน การเคลื่อนย้ายข้อมูลต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า เป็นตัวนำ ซึ่งขึ้นตอนในการเพิ่มพลังงานไฟฟ้า    เรียกว่า Modulation     หรือการกล้ำสัญญาณที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีความถี่สูง     และคงที่ รวมถึงมี แอมปลิจูด (ขนาด)  สูงด้วย เราเรียกว่า Signal Carrier  หรือสัญญาณคลื่นพาห์ ขั้นตอนการทำงานจะเริ่มโดยอุปกรณ์ที่ทำ หน้าที่ Modulater จะสร้าง Signal Carrier เพื่อให้สัญญาณมีความเข้มข้นพอที่จะส่ง และเมื่อถึง ปลายทาง ก็จะมีอุปกรณ์ที่แยกสัญญาณ Carrier ออกให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูล ซึ่งการแยกนี้เราเรียกว่า Demodulation

การมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อก

1. Amplitude Modulation : AM วิธีนี้เป็นวิธีการที่ดังเดิม และสะดวกสบายที่สุด เนื่องจากว่าความถี่ของสัญญาณคลื่นพาห์จะคงที่และสูงกว่าความถี่ของสัญญาณข้อมูล (ดังรูป) แต่วิธีการนี้ก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่า แบนด์วิดท์ของสัญญาณ AM นั้นเป็นย่านความถี่ที่ไม่ค่อยสูงนัก ทำให้เกิด Noise เข้ามารบกวนได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองพลังงานในการส่งสูงอีกด้วย

2. Frequency Modulation : FM เป็นวิธีการที่ตรงกันข้ามกับ AM ในการ Modulation แบบ FM นี้จะมี Amplitude คงที่ แต่ความถี่ของสัญญาณจะไม่คงที่เปลี่ยนไปตามความถี่ของสัญญาณข้อมูล แต่ข้อเสียของสัญญาณ FM             นี้จะอยู่ที่ว่า มีการใช้แบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้าง เนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลาย ความถี่ ทำให้ต้องการสายสื่อสารที่มี     แบนด์วิดท์กว้าง และทำให้ราคาของสายสูงขึ้นตามไปด้วย คุณภาพของ สัญญาณ FM นั้นจะดีกว่าแบบ AM แต่ระบบการทำงานจะซับซ้อนมากกว่า   ปัจจุบันมีการเพิ่มวงจร Phase-Lock-Loop เข้าไปในระบบเพื่อปรับความถี่ และเฟสของสัญญาณ ทำให้สัญญาณมีคุณภาพ  และถูกต้องยิ่งขึ้น

3. Phase Modulation : PM วิธีการ Modualtio แบบ AM และ FM นิยมใช้ในการกระจายเสียง ของวิทยุ แต่แบบ PM  กลับนิยมใช้ในการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ซึ่งวิธีการ PM นี้สามารถเปลี่ยนแปลง เฟสของสัญญาณได้ง่ายกว่าแบบ FM แต่เป็นวิธีที่มีวงจรค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม ในการส่งข้อมูลแบบ Analog ในการ Modulation แบบ PM นี้ให้ครึ่งรอบของสัญญาณเป็นมุมเฟสเท่ากับ 180 องศา และเมื่อครบ 1 รอบ ก็เท่ากับ 360 องศา โดยเมื่อสัญญาณ Modulate        จะมีการเปลี่ยนกลับมุม เฟส ทุกครั้งที่สัญญาณคลื่นพาห์ เท่ากับ 180 องศา

การมอดูเลตสัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณอะนาล็อก (Digital To Analog : D/A)

           ในการส่งสัญญาณ Digital โดยผ่านช่องทางสื่อสารของ Analog ที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ การส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งอาศัยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ Digital ให้เป็น สัญญาณ Analog     ย่านความถี่เสียง  (โทรศัพท์ใช้ย่านความถี่เสียงประมาณ 300-3400 MHz )      ที่เรียกว่า MODEM : Modulator-DEModulator)    ซึ่ง   เทคนิคในการ Modulate สัญญาณ Digital ให้เป็น Analog มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ

1. Amplitude – Shift Keying :ASK การ Modulate เชิงเลขทาง แอมปลิจูดนี้ ความถี่ของสัญญาณ คลื่นพาห์จะ คงที่ โดยเมื่อค่าสัญญาณ Digital เป็น 1 Carrier Wave จะสูงขึ้นกว่าปกติ และเมื่อค่าบิตเป็น 0   Carrier Wave จะตกลง  กว่าปกติ แต่วิธีการนี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากว่าถูกรบกวนจาก สัญญาณอื่นได้ง่าย

Ch32_clip_image002
power