เทคนิกการสื่อสารข้อมูลดิจิตอล (DATA TRANSMISSION)
        
ลักษณะของการสื่อสารข้อมูล มี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบอนุกรม (serial data transmission)  และการสื่อสาร แบบขนาน (parallel data transmission) การสื่อสารแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้

1. Serial แบบ Serial หรือเรียกว่าแบบอนุกรมนั้น   จะมีลักษณะของการส่งข้อมูลแบบหนึ่งต่อหนึ่ง        เรียงลำดับกันไป ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าการส่งข้อมูลนั้นจะส่งทีละ 1 Bit ต่อครั้ง  นอกจากนั้นในการส่งข้อมูลที่จะ 1 Bit นั้น   ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลจำนวนน้อยมาก ดังนั้นความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆรวมไปถึงค่าใช้จ่ายนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับแบบ Parallel เนื่องจากว่าต้องการเพียงแค่ 1 ช่องทางในการสื่อสารจึงสามารถใช้สายแบบราคาถูกได้

Ch4_clip_image002

2. Parallel ในการส่งข้อมูลลักษณะแบบ Parallel หรือแบบขนานนั้น การส่งข้อมูลจะส่งในรูปของชุดของ Bit หรือที่เรียกว่า Byte สำหรับจำนวน Bit ที่จะส่งได้นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนสายข้อมูล (Data Line) เช่นถ้า มีสายสื่อสารจำนวน 8 สาย การส่งข้อมูลก็จะส่งที่ 1 Bit ต่อ 1 สาย แต่ส่งพร้อมกันทั้ง 8 สาย เป็น 1 Byte    นอกจากนี้ในการส่งข้อมูลจะสามารถส่งได้จำนวนมาก ทำให้ เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้น ข้อมูลอาจจะ สูญหาย    หรือเสียหายจากความต้านทานของสาย    หรือแม้แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลของแต่ละสายที่ต่างกัน ก็สามารถทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นการส่งข้อมูลแบบ Parallel  จึงเหมาะสำหรับการส่ง ข้อมูลใน ระยะที่ไม่เกิน 100 ฟุต (1 Foots = 30 Cm) สืบเนื่องมาจากลักษณะการส่งข้อมูลวิธีดังกล่าว
 

Ch4_clip_image004

อย่างที่ได้กล่าวแล้วในข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งในลักษณะแบบ Parallel หรือแบบ Seerial นั้น ในการรับ     หรือส่งข่าวสาร สิ่งที่เครื่องต้นทาง และปลายทางจะต้องมีเหมือนกัน คือ “ อัตราความเร็ว ” ของการส่ง “ ช่วงเวลาของสัญญาณ ” และ “ ช่องว่าง    ระหว่าง Bit”
 

power