ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูล
Asynchronization ส่งข้อมูลได้น้อย เพราะถูกจำกัดโดยขนาดของ Block ข้อมูล และต้องประกอบด้วย Header และ Trailer อีก 20 %
Synchronization ส่งข้อมูลได้มากกว่าเพราะไม่ถูกจำกัดขนาด และใช้ Bit ทั้งหมดสำหรับ Flag และส่วนควบคุม ซึ่งถ้าเกิดความผิดพลาดในการส่ง ก็ต้องเสียเวลาในการส่งมากกว่า
ประสิทธิภาพในการใช้สายสื่อสาร
Asynchronization มีการส่งข้อมูลออกเป็น Block ๆ ไปเรื่อย ๆ ทำให้ใช้สายสื่อสารได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพ
Synchronization มีการเก็บข้อมูลจนเต็ม Buffer (หน่วยความจำชั่วคราว) แล้วค่อยส่ง จึงทำให้ใช้สายสื่อสารได้เต็มประสิทธิภาพ
ความแจตกต่างการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสและการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส
ความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล สาเหตุหนึ่งของการเกิดความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล หรือข่าวสารใด ๆ ก็คือ Noise และลักษณะของสายสื่อสาร ซึ่งการได้รับข้อมูลของเครื่องปลายทางไม่ว่าจะเป็นในกรณีการส่งแบบ Asynchronization หรือ Synchronization ก็ตาม โอกาศที่เป็นไปได้ในการรับ Frame ข้อมูลมีอยู่ 3 กรณีคือ
• ได้รับข้อมูลถูกต้องทั้ง Frame
• ได้รับข้อมูลที่มีบาง Bit ผิดพลาด และตรวจจับไม่ได้
• ได้รับข้อมูลที่มีบาง Bit ผิดพลาด และตรวจจับได้
การตรวจสอบความผิดพลาด (Error Detection) อย่างที่ได้กล่าวแล้วในขั้นต้นว่า ความผิดพลาดอาจจะเกิดมาจาก Noise หรือสายสื่อสารได้ ซึ่งการ ตรวจสอบความผิดพลาดจะเป็นการลดจำนวนของข้อมูลที่จะซ้ำซ้อนกัน ซึ่งการตรวจสอบความ ผิดพลาดนั้นสามารถทำการตรวจสอบโดยการส่งข้อมูล 2 แบบคือ
1. Manual เป็นการส่ง หรือรับข้อมูลทีละอักขระ ซึ่งจะมักใช้กับระบบ On-Line
2. Automatic เป็นการส่ง หรือรับข้อมูลทีละ Block ซึ่งจะทำการสร้าง FCS ขึ้นมา
วิธีการในการตรวจสอบความผิดพลาดวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันเป็นจำนวนมากคือวีธีการที่เรียกว่า Parity Check (การตรวจสอบพาริตี้) โดยมีวีธีการคือ Parity จะมีทั้งแบบ Odd และ Even ถ้ารวมกับ Bit ของอักขระ ไม่ว่าจะเป็นค่า 1 หรือ 0 (คู่ หรือ คี่) ทางต้นทาง ปลายทางที่ได้รับต้องเป็นค่า Parity ตัวเดียวกันยกตัวอย่าง Bit ข้อมูลมี 7 Bit คือ “ 1011001 ” กำหนด ให้ Parity Bit เป็น Odd ดังนั้นค่า Parity จะมีค่าเป็น “ 1 ” ถ้ารวมกัน 8 Bit แล้วค่า ที่ได้จะต้องเป็น Odd ถึงจะถูกต้องนั้นเอง นอกจากวิธี Parity Check แล้วยังมีวีธี Two – Coordinate และ Cyclic Redundancy Check และ Parity Bit Check อีกด้วย