2. การแบ่งระบบเครือข่ายตามลักษณะการให้และรับบริการ         เป็นการแบ่งตามลักษณะหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายเป็นสำคัญ  อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ    Peer - To - Peer    เป็นลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ
เท่าเทียมกันหมด (Peer)ไม่มีเครื่องไหน ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งผู้รับบริการ(Client) และผู้ให้บริการ(Server)ไม่มีเครื่องไดมีหน้าที่ดูแลจัดการระบบทั้งหมดผู้ใช้งานแต่ละเครื่องจะเป็นผู้ดูแลข้อมูล และทรัพยากรของตัวเอง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ  Client- Server     ในกรณีที่องค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากเครือข่ายแบบ Peer- To- Peer อาจจะไม่สามารถรองรับได้ เครือข่าย Client Server จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าเนื่องจาก Client Server           มีความสามารถในการดูแลควบคุมใช้งานของระบบเครือที่มีข่ายผู้ใช้จำนวนมากได้ดีกว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่  ทำหน้าที่ดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลให้บริการทั้ง Hardware , Software และ Data รวมทั้งเรื่องของการรักษาความปลอดภัย
ให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เหล่านี้ว่าเครื่องให้บริการหรือเครื่องแม่ข่าย (Server) ส่วนเครื่อง  คอมพิวเตอร์ที่เหลือในระบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่นี้จะเรียกว่า เครื่องรับบริการหรือเครื่องลูกข่าย (Client) หรือเวิร์กสเตชัน (Workstation)  ซึ่งจะเป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบที่ทำหน้าที่รับการบริการจากเครื่อง    Server  ซึ่งจะทำหน้าที่ ควบคุม การใช้งานทุกอย่างของระบบเครือข่าย เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์จะถูกดูแลโดย Print Server หรืออุปกรณ์และทรัพยากรอื่นๆ จะถูกดูแลโดย Server เช่น File Server , Program Server ส่วนเครื่อง Client ทุกเครื่องจะใช้งานทรัพยากรต่างๆ โดยผ่านทาง Server การใช้งานระบบเครือข่าย (Network Capability)     การประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายมีมากมายหลาย ประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กรที่นำระบบเครือข่าย มาใช้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
- การบริการไฟล์ และการพิมพ์ (File and Print Service)
- การบริการแฟกส์ (Fax Service)
- การบริการโมเด็ม (Modem Service)
- การบริการการเข้าสู่โฮสต์ (Host Service)
- การบริการ Client/Server Software
- การบริการ Information Network เช่น Internet

รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสาร
          
จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการส่งสัญญาข้อมูลนั้น จำเป็นที่จะต้องมีตัวกลาง หรือสื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่ง แบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ กลุ่มที่สามารถกำหนดเส้นทางได้ และกลุ่มที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ ในกลุ่มที่สามารถกำหนดเส้นทางได้ จะมีลักษณะ หรือรูปแบบการเชื่อมโยงออกไปต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นโครงสร้าง ของการสื่อสารโดยทั่วไปก็ว่าได้ ซึ่งโครงสร้างของเครือข่ายในภาษาเทคนิคเราจะเรียกว่า “Topology” ซึ่งก็คือลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ดังต่อไปนี้

1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point – To – Point) ในการเชื่อมต่อการสื่อสารประเภทนี้จะเป็นการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ระหว่างกัน หรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเทอร์มินัล   หรือคอมพิวเตอร์เพียง   2 เครื่อง โดยผ่านสายสื่อสาร
เพียงสายเดียว (ดังรูปที่ 2.7) การต่อเชื่อมประเภทนี้ Host จะทราบใน ทันทีว่าข้อมูลนั้นได้ถูกส่งมาจาก Terminal ตัวใด และ
สามารถส่งกลับไปได้โดยง่าย

Ch24_clip_image002
Ch24_clip_image00402
power